“แอ่งอารยธรรมโคราช” ที่มาจากประเทศไทย
แอ่งอารยธรรมโคราช ต้นกำเนิดไก่ชน แอ่งอารยธรรมโคราช ไก่จากอารยธรรมหินใหม่ในบริเวณประเทศไทยหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การค้นพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่บ่งชี้ว่า ไก่ป่าถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์จนกลายมาเป็นไก่บ้านครั้งแรก ในช่วงรอยต่อระหว่างปลายยุคหินใหม่กับยุคสำริด เมื่อ 1,650 – 1,250 ปีก่อนคริสตกาล ในบริเวณแหล่งอารยธรรมยุคหินใหม่ที่ตั้งอยู่ในแอ่งโคราชของประเทศไทยหลักฐานดังกล่าวคือกระดูกไก่บ้านอายุเก่าแก่ 3,670 ปี ที่พบในหลุมฝังศพของแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา โดยหลักฐานนี้สอดคล้องกับข้อมูลที่ทราบกันอยู่เดิมแล้วว่า ไก่ป่าสีแดงRed junglefowl ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเป็นบรรพบุรุษของไก่บ้านหลากสายพันธุ์ที่ผู้คนทั่วโลกเลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้ รายงานวิจัยว่าด้วยต้นกำเนิดของไก่บ้าน ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร PNAS ได้จากการตรวจสอบอายุของซากกระดูกไก่ที่พบตามแหล่งโบราณคดีทั่วโลก 600 แห่ง ใน 89 ประเทศเสียใหม่ ยิ่งทำให้ทราบว่าไก่ป่าเพิ่งถูกนำมาเลี้ยงเมื่อราว 3,600 ปีที่แล้ว ไม่ใช่เมื่อ 6,000 ปีก่อนตามที่เคยเข้าใจกัน และจากการตรวจสอบหลักฐานใหม่ ทำให้ทราบว่าหลักฐานแสดงระยะเวลาการเลี้ยงไก่ของภูมิภาคต่างๆ เช่น เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก หรือหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือแปซิฟิค ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นหลังจากนั้นทั้งสิ้นการศึกษาดังกล่าวสอดคล้องกับการศึกษาทางพันธุศาสตร์ที่ชี้ว่า ไก่บ้านที่เลี้ยงกันทั่วโลกนั้นมีบรรพบุรุษมาจากไก่ป่าสีแดงสายพันธุ์ Gallus Gallus gallus และซี่งอาศัยอยู่ในบริเวณประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไก่ป่าสีแดงสายพันธุ์ Spadiceus (Gallus gallus spadiceus) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในตอนเหนือของไทย […]