เข้าสู่ระบบ

โรคที่พบมากในไก่ชน และ วิธีการรักษา

“โรคที่พบมากในไก่ชน และ วิธีการรักษา”

โรคที่พบมากในไก่ชน และวิธีการรักษา

ในเรื่องสุขาภิบาลที่ดีด้วยเพราะการดูแลและการจัดการที่เหมือนเดิมไม่ใช่บทสรุป “โรคที่พบมากในไก่ชน และวิธีการรักษา” การป้องกันโรคเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

การเลี้ยงไก่ชนในช่วงหน้าร้อน การจัดการเรื่องการระบายอากาศ น้ำ อาหาร วัสดุรองพื้นถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มักพบในช่วงหน้าร้อน เช่น โรคอหิวาต์สัตว์เป็ด ไก่ โรคที่เกิดจากสารพิษจากเชื้อราในอาหาร และโรคบิด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตชัวเซลล์เดียวในสกุลของอัยเมอเรีย (Eimeria spp.) เป็นโรคที่มีผลโดยตรงต่อลำไส้ เพราะเชื้ออัยเมอเรียจะทำลายเยื่อเมือกของลำไส้ ทำให้ลำไส้อักเสบ ท้องเสียหรือถ่ายเป็นมูก

ในถ่ายเป็นเลือดไก่ชนมักพบระหว่างอายุ 3-6 สัปดาห์ ในไก่ไข่พบระหว่างเป็นไก่รุ่นและไก่สาว หรืออาจพบในระยะแรก ภายหลังย้ายขึ้นกรง ซึ่งวิการของโรคจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือน หรือวัสดุรองพื้นมีความชื้นเหมาะสมเชื้อบิดในสกุลอัยเมอเรียมีหลายชนิด ปัจจุบันชนิดที่พบและมีความสำคัญในไก่มี 7 ชนิด และมีอยู่ 2 ชนิด ที่ก่อให้เกิดโรคที่มีความรุนแรง และทำให้ไก่ตายมาก คือ อัยเมอเรีย เนคาทริกซ์ (E. necatrix) และเชื้ออัยเมอเรีย เทเนลลา (E. tenella)

เชื้อที่มีความรุนแรงรองลงมา คือ อัยเมอเรีย แม็กซิมา (E.maxima) และเชื้อบิดที่พบได้บ่อยแต่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรง คือ อัยเมอเรีย อะเซอร์วูลินา (E.acervulina) และอาจมีการติดเชื้ออัยเมอเรียมากว่า 1 ชนิด ในเวลาเดียวกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม เชื้ออัยเมอเรียมีความเฉพาะเจาะจงต่อชนิดสัตว์ เช่น เชื้ออัยเมอเรีย ที่ทำให้เกิดโรคในไก่จะไม่ก่อโรคในสัตว์ปีกอื่นๆ และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคน

  1. โรคหวัด อาการจาม มีน้ำมูก หายใจลำบาก

และการรักษาให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ ละลายน้ำให้ไก่กิน 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร กินติดต่อกัน 3-5 วัน ถ้ายังไม่หาย ให้ฉีดยาลินโคสเปคตินชนิดฉีดปริมาณ 0.5 ซีซี/น้ำหนักตัวไก่ 3 กิโลกรัม

กับการป้องกันให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ หรือยาลินโคสเปคตินชนิดผง 4 กรัม/น้ำ 1 ลิตร กินติดต่อกัน 3 วันในช่วง 3 วันแรกเกิด

  1. โรคคอครอก

อาการมีเสียงเสลดในลำคอเวลาหายใจ ส่วนใหญ่มักนอนในที่สูง หรือที่โล่งๆ หรือเจอในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง

และการรักษาให้ยาเอวีซิน บี12 3เอ็กซ์ โรยคอ ครั้งละ 1 กรัม ติดต่อกัน 3-5 วัน

การป้องกันจัดการสภาพการเลี้ยงให้ดี หรือให้ยาป้องกันในช่วงที่อากาศเปลี่ยน

  1. ท้องเสีย (ขี้เขียว ขี้ขาว)

อาการเกิดจากติดเชื้อทางเดินหายใจ ทางเดินทางอาหาร หรือเกิดจากการบาดเจ็บหลังชน ทำให้แพร่เชื้อลงในกระเพาะอาหาร มีขี้ปนเมือก สีขาว และสีเขียว มักมีอาการอาหารไม่ย่อยร่วม

การรักษาให้ยาออกตามิกซ์ละลายน้ำให้ไก่กินติดต่อกัน 3-5 วัน ขนาด 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร

  1. ตาเจ็บ

อาการบวมแดง มีน้ำตาไหล มีฟองอากาศ

การให้ยาลินโคสเปคตินชนิดผง ละลายน้ำให้ไก่กิน 3-5 วัน ขนาด 8 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือใช้ยา Terramycin ป้ายตา 3 วันติดต่อกัน ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาลินโคสเปคตินชนิดฉีด ปริมาณ 0.5 ซีซี/น้ำหนักตัวไก่ 3 กิโลกรัม

  1. เหน็บเสี้ยน

อาการเกิดจากการกดทับบริเวณข้อพับเป็นเวลานาน มักเกิดกับไก่ที่มีอายุมากและน้ำหนักมาก ไก่จะมีอาการเส้นยึด ยืนเดินลำบากเนื่องจากเส้นเอ็นอักเสบ

การรักษาทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือ และทายาไดโปรซาลิคบริเวณข้อพับทุกๆ วัน

  1. คอดอก

อาการเกิดเกล็ด หรือดอกสีขาวบริเวณหลอดอาหาร ช่องปากมีกลิ่นเหม็น ชอบอ้าปากหายใจ

การรักษาปลิ้นกระเดือกเอาเกล็ด หรือดอกสีขาวออก ใช้ยาเจนเชี่ยนไวโอเลตป้ายบริเวณแผล หรือใช้ยาเจนเชียนไวโอเลต ปั่นคอ เช้า-เย็น

  1. อุ้งเป็นหน่อ ตาปลา

อาการมีหน่อหรือตาปลาบริเวณอุ้งเท้า เดินลำบาก

การรักษารักษาตามอาการ ทำความสะอาดบริเวณอุ้งเท้า เช้า -เย็น ปิดแผลด้วย พลาสเตอร์ยา จนแผลหายสนิท

ในการใช้ยายาปฏิชีวนะใช้ในกรณีที่มีการป่วยเท่านั้น และไม่ควรใช้เกินกำหนดอายุการใช้ยา จะต้องมีการลงบันทึกในใบรายงานทุกครั้ง เช่น Lot No ปริมาณและผู้ใช้ยายาชนิดฉีด ต่างชนิดกันให้แยกไซริงค์ที่ใช้อุปกรณ์การฉีดยา ควรนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ และตรวจสอบสภาพก่อนนำไปใช้เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคใช้ขนาดที่ถูกต้องใช้ความถี่ที่ถูกต้องเก็บรักษาในที่ แห้ง ร่ม เย็น มีฉลากบอกวิธีการใช้อุปกรณ์ที่ให้ควรทำความสะอาดก่อนและหลังใช้งานกรณียาที่เป็นผงจะต้องละลายให้หมด

ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ : Kaichon888.co หรือไลน์แอด @cockfight888

@cockfight888
LINE : @cockfight888