การพนันชนไก่ พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอยู่ ๓ ประเด็น
การพนันชนไก่ พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอยู่ ๓ ประเด็น คือ การศึกษาการละเล่นพื้นบ้านที่พัฒนาสู่ธุรกิจการพนัน, การศึกษาวิธีการเล่นพนันที่พัฒนาจากการละเล่นไก่ชนและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนท้องถิ่น, รวบรวมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการกำกับดูแลการเล่นพื้นบ้านและการพนันที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะกรณีการละเล่นชนไก่ที่ต้องแยกออกจากธุรกิจการพนัน
คณะศึกษาได้ดำเนินการศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม รวมทั้งการสังเกตในสนามกีฬาชนไก่ การแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เจ้าของไก่ เจ้าของสนามชนไก่ ผู้ชม นักพนัน ประมวลสรุปได้ดังนี้
กีฬาชนไก่เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตวัฒนธรรม โดยเฉพาะวิถีชีวิตของชาวนา ดังสำนวน “เสร็จจากการทำนา กัดปลา ชนไก่ ชกมวย และแข่งเรือยาว” ชนไก่มีความเกี่ยวพันกับมิติทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวพันกับการสร้างเอกลักษณ์ประจำจังหวัด บางส่วนเป็นอาชีพหลักในชุมชน แบ่งไก่เป็น ๒ ประเภทคือ ๑ ไก่งาม (ลักษณะดี) ๒ ไก่ชน (ไก่ชนเก่ง) และไก่ประเภทที่ ๒ พัฒนาสู่การพัฒนาเป็นธุรกิจการพนันชนไก่ในปัจจุบัน มีการรวมกลุ่มสร้างเป็นเครือข่ายการสื่อสารกันภายในกลุ่มผู้สนใจกีฬาชนไก่และการพนันชนไก่ในภาคเหนือตอนล่าง ๕ จังหวัด จากการสำรวจเบื้องต้นมีจำนวนสนามชนไก่จำนวน ๒๑ แห่ง
การชนไก่พัฒนาการจาก ๑ การชนไก่ในหมู่เพื่อนบ้าน เดิมพันเพื่อความสนุกสนาน เช่น การเลี้ยงข้าว เลี้ยงเหล้า การคัดพันธุ์ไก่ที่แข็งแรงที่เก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในระยะยาว ๒ การชนไก่ระหว่างหมู่บ้าน ระหว่างคุ้ม ซึ่งมีการพนัน (การเดิมพัน) เข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มต้นจากเดิมพันจำนวนเงินไม่มากนัก ๓ การชนไก่ที่มีสถานที่และขอบเขตที่ชัดเจน มีชื่อเรียกตกต่างกัน สนามกีฬาชนไก่, บ่อนชนไก่, สังเวียนชนไก่, สนามประลองไก่ มีกฎ กติกา ระเบียบ มีความเกี่ยวพันกับการพนันที่ครบวงจร มีกลุ่มคนเกี่ยวข้อง เจ้าของไก่ ผู้กราดน้ำ กรรมการสนาม เจ้าของสนาม ผู้ชม(นักพนัน) มีธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง, ค่าอาหาร, ค่าจอดรถ รวมทั้งเกี่ยวพันกับการจ่ายค่าตอบแทนให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ฝ่ายปกครอง เป็นการให้ค่าตอบแทนเพื่ออำนวยความสะดวก ในขณะที่ธุรกิจการชนไก่จะมีการปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย เช่น เปิดเกินเวลา การเล่นการพนัน
สนามชนไก่มีเงินทุนหมุนเวียนตามขนาดของสนามที่แตกต่างกัน คือสนามขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่มีเงินหมุนเวียนตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐ บาท แตกต่างตามขนาดของสนามชนไก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพนันชนไก่ การลงทุนในการเลี้ยง การลงทุนในการขออนุญาต การก่อสร้างสนามชนไก่ การดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ แล้วแต่ขนาดของสนามชนไก่ รวมทั้งธุรกิจการขายอาหาร เครื่องดื่ม วัสดุอุปกรณ์เลี้ยงๆไก่ ยารักษาโรค ต้นทุนในการเปิดสนามกีฬาชนไก่โดยเฉพาะค่าใบอนุญาต ๔๓๐,๐๐๐ บาท และต้นทุนอื่นๆ ๑,๑๕๖,๐๐๐ – ๑,๒๕๖,๐๐๐ บาท
ประเภทของการพนันชนไก่ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท การพนันแบบต่อรองและการพนันแบบวางเดิมพัน มียอดเงินเดิมพัน ๓๒,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาท/เดือน หรือประมาณ ๓๘๔,๐๐๐-๙๖๐,๐๐๐ บาทต่อปีในสนามชนไก่ขนาดเล็ก และ ๔๐๐,๐๐๐-๕๐๐,๐๐๐ บาท/เดือน หรือประมาณ ๔,๘๐๐,๐๐๐-๖,๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อปีในสนามชนไก่ขนาดใหญ่
ในส่วนของการต่อรองภายนอกมีการเล่นการพนันที่หมุนเวียนในผู้ชม(ผู้เล่นการพนัน) ๕๒๘,๐๐๐ บาท/เดือน หรือ ๖,๓๓๖,๐๐๐ บาท/ปีในสนามชนไก่ชุมชน และ จำนวน ๕๒,๖๔๐,๐๐๐ บาท/เดือน หรือ ๗๓๑,๖๘๐,๐๐๐ บาท/ปีในสนามชนไก่แบบธุรกิจในระดับจังหวัด
ข้อดีและข้อเสียการเล่นการพนันชนไก่ ข้อดีการทำให้เกิดวงสังคมกว้างขวางขึ้น เข้าใจการรู้แพรู้ชนะ ยอมรับกฎกติการะเบียบ ข้อเสียสังคมไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ การเสียการเดิมพัน เสียเวลา มิติทางครอบครัวลดลง การชนไก่ในมุมมองของสังคมชุมชนมิใช่การละเล่นพื้นบ้านเป็นมิติของการพนันในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงไปของการพนันไก่ชน จากการชนไก่เพื่อเป็นพื้นที่สันทนาการของคนในชุมชน ไม่หวังผลทางเศรษฐกิจให้เกิดความสัมพันธ์ในชุมชนท้องถิ่น และเพื่อความสนุก เปลี่ยนมาสู่เป้าหมายทางด้านธุรกิจ ทำให้เกิดระบบการรวมอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตำรวจ ปศุสัตว์ การพัฒนาสายพันธุ์ที่เป็นการเข้าสู่ธุรกิจการพนันโดยเฉพาะ รวมทั้งการที่จะโกงเพื่อให้ฝ่ายตนเองชนะการพนัน
ธุรกิจการพนันชนไก่แบบครบวงจร มีกลุ่มคนหลากหลายอาชีพมาเกี่ยวข้อง มีเป้าหมายเชิงธุรกิจเป็นหลัก มีกลุ่มนักพนัน คนเลี้ยง สนามกีฬาชนไก่เพื่อธุรกิจการพนันเฉพาะ มีอาชีพเกี่ยวกับการพนันชนไก่โดยเฉพาะเกี่ยวกับอำนาจรัฐ อำนาจเงิน อำนาจเถื่อนเข้ามาเกี่ยวข้อง
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ Kaichon หรือไลน์แอด @cockfight888