เข้าสู่ระบบ

ไก่ชนนเรศวร มีตำนานประวัติ

ไก่ชนนเรศวร มีตำนานประวัติ

ไก่ชนนเรศวร

ไก่ชนนเรศวร มีตำนานประวัติ  เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร  เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี

ประเทศพม่า ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ นได้รับสมญานามว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง” สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่

โดยจัดประกวดครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2533 ในนามของ  และปี 2534 ได้จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ไก่ชนนเรศวรขึ้นที่ ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จนถึงปี 2542 ได้จัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาไก่ชนนเรศวร ขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป

ต้นกำเนิด 

ไก่ชนนเรศวร เป็นไก่ชนสายพันธุ์เหลืองหางขาว และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปแล้วว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก  ปัจจุบันเป็นสัตว์อัตลักษณ์ ของจังหวัดพิษณุโลก และเป็นสมบัติของชาติไทย ที่ได้รับความสนใจกันอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ดังนั้นเพื่อให้การอนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ ซึ่งเอกลักษณ์และลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานพันธุ์ไก่ชนนเรศวรขึ้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542

ลักษณะประจำพันธุ์สัตว์

มีลักษณะประจำพันธุ์ทั่วไปเช่นเดียวกับ ไก่เหลืองหางขาว เพศผู้ มีน้ำหนักตั้งแต่ 3 กิโลกรัมขึ้นไปสูงตั้งแต่ 60 เซนติเมตรขึ้นไป (วัดจากใต้ปากล่างตั้งฉากถึงพื้นที่ยืน) เพศเมีย มีน้ำหนักตั้งแต่ 2 กิโลกรัมขึ้นไป สูงตั้งแต่ 45 เซนติเมตรขึ้นไป

ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ

1.เพศผู้ มีน้ำหนัก 3 กิโลกรัมขึ้นไป
2. เพศเมีย มีน้ำหนัก  2  กิโลกรัมขึ้นไป
3.อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก 198 วัน
4.ผลผลิตไข่/ปี 136 ฟอง
5. น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก 2,086 กรัม

ลักษณะเด่นพิเศษ

ไก่ชนนเรศวร เป็นไก่เหลืองหางขาวมีลักษณะพิเศษตามความเชื่อของคนโบราณหลายประการ คือ

  • ไก่ชนนเรศวรพ่อพันธุ์
    – 
    ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์  คือ มีหย่อมกระ (มีสีขาวแซม) 5 แห่ง  ที่หัว(บริเวณท้ายเสนียด)   หัวปีกทั้งสองข้างและข้อขาทั้งสองข้าง โบราณถือว่ามีเทพรักษาถึง 5 พระองค์ จึงถือเป็นไก่สกุลสูง   หรือ “พระยาไก่”
    1. สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก มีสีเหลืองทองอร่าม  เรียกว่า “เหลืองประภัสสร”
    2.มีสร้อยใต้ปีก(ข้างลำตัว) เรียก “สร้อยสังวาลย์” สีเดียวกับสร้อยคอและสร้อยหลัง
    3.มีขนใต้โคนหางขลิบเหลือง เหนือทวารหนัก ประสานกันแหลมขึ้นไปที่โคนหางคล้ายดอกบัว เรียก   “บัวคว่ำ – บัวหงาย”
    4. ก้านขนสร้อยและหางกะลวย  มีสีขาวปลอด
    5. ขนหู มีสามสี ได้แก่ สีเหลือง สีขาว และสีดำ
    6. ฝาปิดจมูก มีสีขาว
    7. เกล็ดสำคัญ  ซึ่งเป็นเกล็ดพิฆาต  เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู เป็นต้น
           
  • ไก่ชนนเรศวร เพศเมีย หรือ แม่พันธุ์
    – 
    ลักษณะทั่วไปตามสายพันธุ์เหลืองหางขาว ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ใกล้เคียงกับเพศผู้ หรือ พ่อพันธุ์ คือ ขนพื้นตัวมีสีดำตลอด มีจุดหย่อมกระขาว 5 จุด ลักษณะพระเจ้าห้าพระองค์ ที่หัว หัวปีกทั้งสอง และข้อขาทั้งสอง ปาก ตา แข้ง และ เล็บสีขาวอมเหลืองแบบงาช้าง ปากมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ปีกในดำ ปีกนอกและปีกไชแซมขาว บางตัวจะปรากฏสร้อยคอสีเหลืองสดใส  หรือมีเดือยเช่นเพศผู้

การนำไปใช้ประโยชน์ 

1.เพื่อการบริโภคทั้งบริโภคเนื้อ และไข่
2. สามารถเพิ่มรายได้ของครอบครัว
3. เป็นอาชีพเสริมของเกษตรกร
4.เพื่อความบันเทิง

ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ Kaichon888.co หรือไลน์แอด @cockfight888

@Cockfight888
LINE : @Cockfight888