เข้าสู่ระบบ

ลักษณะของไก่ป่า

ลักษณะของไก่ป่า

ลักษณะของไก่ป่า

ลักษณะของไก่ป่า มีลักษณะสำคัญที่ผิดกับนกชนิดอื่นๆ คือ บนหัวมีหงอนที่มีลักษณะเป็นเนื้อไม่ใช่หงอนที่เป็นขนมีเหนียงสองข้างห้อยลงมา

ลักษณะของไก่ป่า มีลักษณะสำคัญที่ผิดกับนกชนิดอื่นๆ คือ บนหัวมีหงอนที่มีลักษณะเป็นเนื้อไม่ใช่หงอนที่เป็นขนมีเหนียงสองข้างห้อยลงมา ที่โคนปากและคาง ที่บริเวณหน้าและคอนั้นมีลักษณะเป็นหนังเกลี้ยงๆ ไม่มีขน ส่วนขนตามตัวทั่วๆ ไปมีสีสันสวยงาม ขนหางตั้งเรียงกันเป็นสันสูงตรงกลาง มีขนหาง 14 – 16 เส้น
เส้นกลางยาวปลายแหลมและอ่อนโค้ง แข้งมีเดือยข้างละอันเป็นอาวุธ ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้และสีขนไม่ฉูดฉาดสวยงามเท่าตัวผู้ แข้งไม่มีเดือย หงอนและเหนียงมีขนาดเล็กมาก จนกระทั่งบางตัวแทบจะไม่มี ไก่ป่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ตลอดไปจนถึงประเทศจีน เกาะไหหลำ อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ไก่ป่า เป็นบรรพบุรุษของ ไก่บ้าน แตกต่างกันตรงที่ไก่ป่า มีขาเป็นสีเทาและตรงบริเวณโคนหางมีสีขาวเห็นเด่นชัด

ในอดีต ตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยยังมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่ามากมายหลายประเภท โดยเฉพาะนกชนิดต่างๆ การล่านกเพื่อเป็นอาหารนับว่าเป็นเรื่องปกติของชาวบ้านทั่วๆไป และถือว่าเป็นอาชีพอย่างหนึ่ง ทำให้นกหลายชนิดต้องสูญพันธุ์ไปอย่างน่าเสียดาย ในจำนวนนกที่ถูกล่าเพื่อเป็นอาหารนั้น ไก่ป่า ซึ่งเป็นนกประเภทหนึ่งที่มีอยู่อย่างชุกชุมถูกล่ามากที่สุด เนื่องจากว่าเนื้อมีรสอร่อย ถ้าไม่สังเกตให้ดี ไก่ป่า จะไม่มีความแตกต่างจาก ไก่บ้าน มากนัก เนื่องจากว่า ไก่บ้าน สืบสายพันธุ์มาจาก ไก่ป่า โดยมนุษย์ได้นำ ไก่ป่า มาเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสัตว์ในครัวเรือนเป็นเวลานานกว่า 4,400 ปี นอกจากจะ

เรียกนกชนิดนี้ว่า ไก่ป่า แล้ว บางครั้งยังเรียกว่า ไก่เถื่อน อีกด้วย ปัจจุบันไก่ป่าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2
ถึงแม้ว่า ไก่ป่า จะถูกตามล่าอยู่เป็นประจำ แต่เนื่องจาก ไก่ป่า มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว จำนวนของ ไก่ป่า ตามธรรมชาติจึงคงมีเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก และจัดเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทั่วทุกภาค ตั้งแต่บนที่ราบต่ำ จนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร ในต่างประเทศเคยพบที่ระดับความสูง 2,000 เมตร ซึ่งนับว่าสูงมากทีเดียว

ไก่ป่าที่พบในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ  ขนบริเวณคอ หลัง ถึงสะโพกมีสีส้ม ขนปีกสีเขียวเป็นมันขลิบสีส้มใต้ท้องสีน้ำเงินดำ หางโค้งลาด ปลายพริ้ว สีเขียวแซมดำและสีน้ำเงินเข้มเป็นมัน ความยาวของตัววัดจากปลายปากถึงปลายหางราว ๖๐ เซนติเมตร ตัวผู้หนัก ๘๐๐ – ๑๓๐๐ กรัม ไก่ป่าตัวผู้มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากนกอื่นๆ คือ
มีเหนียงเป็นเนื้อห้อยลงมาทั้งสองข้างของโคนปากและคางมีหน้าและคอเป็นหนังเกลี้ยงๆ  ไม่มีขนแข้งมีเดือยข้างละอันเป็นอาวุธ
ไก่ป่าตัวเมียมักมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ขนไม่งดงาม สีไม่ฉูดฉาด แข้งไม่มีเดือย หงอนและเหนียงเล็กมาก หรือบางตัวเกือบไม่มีเลย

ไก่ป่าอาศัยตามพุ่มไม้เล็กๆในป่าทั่วไป บินได้เร็ว แต่ในระดับต่ำๆ และระยะทางสั้นๆ ตามปรกติอยู่เป็นฝูงใหญ่ทั้งตัวผู้และตัวเมียรวมกันราว ๕๐ ตัว แต่จะแยกเป็นฝูงเล็กๆ ในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งตัวผู้ต้องต่อสู้กันเพื่อครอบครองพื้นที่และแย่งชิงตัวเมียกันตัวละ ๓ – ๕ ตัว หลังผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะทำรังเป็นหลุมตื้นๆบนพื้นดินหรือบนกองใบไม้แห้งๆในที่ปลอดภัย  แล้ววางไข่คราวละ ๕ – ๖ ฟอง ไข่สีขาวหรือน้ำตาล ใช้เวลาฟักประมาณ ๒๑ วัน ลูกไก่ป่าอายุ ๘ วันก็เริ่มบินเกาะตามกิ่งไม้ได้ และเมื่ออายุประมาณ ๑๐ วัน ก็เริ่มบินได้ในระยะทางสั้นๆ

ติดตามข่าวสารไก่ชได้ที่ Kaichon888.co หรือไลน์แอด @cockfight888

@cockfight888
LINE : @cockfight888