ชนไก่กีฬาพื้นบ้าน จัดเพื่อสนองมนุษย์
ชนไก่กีฬาพื้นบ้าน จัดเพื่อสนองมนุษย์ ชนไก่กีฬาพื้นบ้าน จัดเพื่อสนองมนุษย์ เป็นกีฬาที่มนุษย์คิดขึ้น โดยใช้สัตว์เป็นตัวแทนของตนในการแข่งขันต่อสู้ จนเป็นที่นิยมกันทั่วไป และก็เหมือนกีฬาประเภทอื่นๆ ที่บางครั้งก็มีเรื่องของการเดิมพัน, การพนันเข้ามาเกี่ยวข้อง มีการสันนิษฐานว่าคนไทยรู้จักการชนไก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งคงอ้างอิงจากเรื่องเล่าไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรที่ว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นตัวประกันอยู่ที่กรุงหงสาวดี เคยชนไก่ชนะพระมหาอุปราช จนเกิดการปะทะคารมระหว่างทั้ง 2 พระองค์ขึ้นสมเด็จพระมหาอุปราชตรัสว่า “ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ”สมเด็จพระนเรศวรก็ดำรัสตอบว่า “ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองก็ยังได้”แล้วไก่ชนของสมเด็จพระเนรศวรนั้นน่าจะเป็นไก่สายพันธุ์ใด เรื่องนี้ นายสัตว์แพทย์นิสิต ตั้งตระการพงษ์ ค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ทำให้พอสันนิษฐานได้ว่า ไก่ที่สมเด็จพระเนรศวรทรงนำไปชนกับพม่านั้นคือ “ไก่เหลืองหางขาว” [บ้างถิ่นเรียกไก่เหลืองใหญ่] จากบ้านกร่าง เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็น “ถิ่นไก่ชน” สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย ลักษณะของไก่เหลืองหลังขาว ได้แก่สี-สร้อยเหลือง ทั้งสร้อยคอ, สร้อยปีก และสร้อยหลัง, หาง–ขาวเหมือนฟ่อนข้าว กระรวยหางสีขาว ยาวโค้งปลายห้อยไปด้านหลังตกลงสวยงาม, หน้า-แหลมยาว เหมือนหน้านกยูง, ปาก-ขาวอมเหลือง มีร่อง 2 ข้างจงอยปาก, ปีก–ใหญ่ยาวมีขน ขาวแซมทั้งสองข้าง, อก-ใหญ่ ตัวยาว ยืนขาห่างกัน, ตะเกียบ-คู่แข็ง กระดูกใหญ่, แข้ง-ขาวอมเหลือง เล็ก นิ้วยาวเรียว เดือยงอน คันช้อน, ขัน-เสียงใหญ่ ยาว, ยืน-ท่าผงาดดังราชสีห์ที่สำคัญคือ ไก่เหลืองหางขาวนั้น “ฉลาด ปราดเปรียว อึดทน” จึงมีคำพูดว่า “ไก่เหลืองหางขาวกินเหล้าเชื่อ” หมายความว่า ถ้าไก่เหลืองหางขาวได้คู่ตีแล้วไม่ต้องมานั่งลุ้นดู ให้ไปสั่งเหล้ามากินเชื่อก่อนได้ […]