เจ้าของภูมิปัญญาพัฒนาไก่ชน
เจ้าของภูมิปัญญาพัฒนาไก่ชน หลักฐานจากแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร และแหล่งโบราณคดีถ้าองบะ เจ้าของภูมิปัญญาพัฒนาไก่ชน ที่มีรูปแบบคล้ายวัฒนธรรมอย่างอินเดีย ถึงแม้จะเป็นที่ยอมรับว่าไก่บ้านวิวัฒน์มาจากไก่ป่าในภูมิภาคนี้ แต่ก็มิได้เหลือร่องรอยของกระดูกไก่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ ภาพเขียนสีตามเพิงผาและผนังถ้าถึงจะมีภาพสัตว์คล้ายไก่แต่ก็ยากที่จะบอกได้ว่าเป็นไก่หรือนก มีเหลือก็แต่สถานที่ก่อนประวัติศาสตร์บางแหล่งที่แสดงร่องรอยว่า เคยเป็นแหล่งที่มนุษย์เคยนำไก่มาทำกิจกรรมบางอย่าง อาจเพื่อการเซ่นสรวงบูชายัญหรือนำมาชนกันเพื่อความสนุกสนาน เช่น ที่เขาชนไก่ จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งแต่เดิมบนยอดเขาเคยมีเสาหลักโบราณคล้ายหลักสำหรับผูกไก่ ชาวบ้านเรียกว่าหลักไก่ หลักแบบนี้ยังพบตามแหล่งโบราณคดีอีกหลายแหล่งซึ่งอาจเป็นหินตั้งฝังศพก็ได้ภูมิภาคตะวันตกมีความก้าวหน้าในการติดต่อกับการค้าต่างแดนก่อนภาคอื่นๆ ดังหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชรและแหล่งโบราณคดีถ้าองบะ จังหวัดกาญจนบุรีที่มีอายุราว ๓,๕๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยเฉพาะที่บ้านดอนตาเพชรพบว่าเป็นวัฒนธรรมยุคเหล็กที่มั่งคั่งและสำคัญที่สุด เพราะอยู่ในเส้นทางการค้าไปสู่อินเดียทางบกผ่านช่องทางเจดีย์ ๓ องค์ ชุมชนเหล่านี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นบ้านเมืองและนครรัฐที่มีรูปแบบวัฒนธรรมอย่างอินเดีย ดินแดนสุวรรณทวีปเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือโดยเฉพาะพ่อค้าอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลราว พ.ศ.๓๐๐ จึงมีหลักฐานว่า พระเจ้าอโศกส่งพระโสณและพระอุตตระมาจากชมพูทวีปเพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนา ดังนั้นราว พ.ศ.๑๐๐๐ หรือ ๑,๕๐๐ ปีต่อมา จึงมีหลักฐานว่ามีบ้านเมืองน้อยใหญ่ที่ได้รับอารยธรรมอินเดียกระจายอยู่ตามริมฝั่งทะเลอ่าวไทย อ่าวพังงาและที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใครเป็นเจ้าของภูมิปัญญาน าไก่บ้านมาชนและพัฒนาสายพันธุ์จนเกิดพันธุ์ใหม่แพร่ไปทั่วโลก ไก่ชนก็คือไก่บ้านที่เป็นนักสู้มากกว่า ไก่บ้านธรรมดา หน้าตาของไก่ชน ในระยะแรก จึงไม่น่าจะแตกต่างจากไก่บ้านทั่วไป ต่อเมื่อมนุษย์ได้เข้ามามีส่วนในการพัฒนาสายพันธุ์ไก่ชนแต่ละถิ่นจึงแตกต่างกันไป ดังภาพไก่ชนที่เก่าที่สุดในประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ภาพสลักหินที่ปราสาทบายนในกัมพูชา ไก่ชนในภาพน่าจะเป็นไก่ชนในยุคต้นๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับพันธุ์บังคีวะ จากอินเดีย จนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมา ให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุก วันนี้ และเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ที่หลากหลายเป็นทรัพย์สินภูมิปัญญา […]