ไก่ด่างดอกหมาก ผู้เลี้ยงเรียกว่า “ไก่ด่างดอกหมาก” เนื่องจากขนบริเวณสร้อยคอมีสีเหลืองขาวแต่ขนบริเวณลาตัวมีสีขาวปนดาคล้ายไก่ด่าง
ผู้เลี้ยงเรียกว่า “ไก่ด่างดอกหมาก” เนื่องจากขนบริเวณสร้อยคอมีสีเหลืองขาวแต่ขนบริเวณลำตัวมีสีขาวปนดำคล้ายไก่ด่าง ซึ่ง อภิชัย (2541) บรรยายว่าไก่ด่างหรือด่างน้ าดอกไม้มีสีขนสร้อยคอเป็นสีเหลืองขาว และหงอนเป็นหงอนหิน สีแข้งเป็นสีเหลือง ซึ่งจากการบรรยายนี้พบว่าจะใกล้เคียงกับลักษณะของไก่ด่างดอกหมากในการสำรวจนี้ ดังนั้น น่าจะเป็นข้อสังเกตว่าความเข้าใจของนักวิชาการเกี่ยวกับไก่ด่างไม่สอดคล้องกับลักษณะของไก่ด่างตามภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นแยกไก่ด่างไก่ด่างน้ำดอกไม้ และไก่ดอกหมากเป็นคนละชนิดกันซึ่งแยกตามความแตกต่างของสีขน แต่อาจเป็นไปได้ว่าไก่ด่างดอกหมากนี้เป็นลูกไก่ที่ไม่หลงเหล่าเกิดจากการผสมข้ามระหว่างไก่ดอกหมากและไก่ด่างระบบการผลิตไก่พื้นเมืองของเกษตรกร พ่อแม่พันธุ์ไก่ของเกษตรกรนั้นมีการปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ หาอาหารกินเองตามธรรมชาติ การป้องกันและควบคุมโรคไก่พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ไก่ตัวที่มีลักษณะเด่นบางส่วน เช่น ตัวโต ถูกนำมาเป็นอาหารหรือนำไปขาย บางส่วนได้น ามาเป็นพ่อแม่พันธุ์ส่วนที่เหลือถูกนำไปเป็นอาหารหรือนำไปขาย ด้วยเหตุนี้เองทำให้สายพันธุ์ไก่พื้นเมืองมีขนาดของตัวที่เล็กลงเรื่อย ๆ พร้อมกันนั้นการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของไก่พื้นเมือง มีผลต่อการทำให้สายพันธุ์ไก่พื้นเมืองลดขนาดลงด้วยไก่พื้นเมืองมีการเลี้ยงทั่วไปตามหมู่บ้าน ไก่พื้นเมืองเหล่านี้ถูกเลี้ยงไว้แบบปล่อยหากินเอง คุ้ยเขี่ยอาหารตามธรรมชาติจึงเป็นไก่ชนิดเดียวที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่เกิด ลูกไก่เดินตามแม่ออกหาอาหารเอง ไก่พื้นเมืองได้ปรับตังเองเข้ากับสภาพแวดล้อมจึงเป็นสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงกันแทบทุกครัวเรือนโดยเฉพาะในชนบท ระบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองจากอดีตเป็นระบบการเลี้ยงที่พึ่งพาธรรมชาติไม่ได้ใช้วิทยาการสมัยใหม่ เป็นระบบการลงทุนที่ต่ำแต่มีความยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ สืบสานไก่ชน หรือไลน์แอด @cockfight888