ไก่ชนเหลืองหางขาว ไก่ชนพระนเรศวรมหาราช เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดาร เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความฉลาดในการต่อสู้
เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพำนักอยู่ในกรุงหงสาวดี ประเทศพม่า พระองค์ทรงนำไก่เหลืองหางขาวไปจากเมืองพิษณุโลก เพื่อนำไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา เป็นไก่ชนที่มีลักษณะพิเศษมีความฉลาดในการต่อสู้ จึงชนชนะ จนได้รับสมญาว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง” ซึ่งสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ข่าวไก่ชน ได้ศึกษาค้นคว้า และทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยจัดประกวดครั้งแรกขึ้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2533 และในปี 2534 ได้จัดตั้งชมรมอนุรักษ์ไก่ชน พระนเรศวรมหาราชขึ้นที่ ตำบลหัวรออำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลกโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลกจนถึงปี 2542 ได้จัด ตั้งกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนพระนเรศวรมหาราชขึ้นทุกอำเภอ รวม 12 กลุ่มเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่ เป็นสมบัติคู่ชาติตลอดไป
ไก่เหลืองหางขาวเพศผู้หรือพ่อพันธุ์
– ขนพื้น ขนหน้าคอ หน้าอก ใต้ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้น และขนน่อง มีสีดำ
– สร้อย ขนสร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก มีสีเหลืองทองรับกัน หรือใกล้เคียงกัน
– ปีก ขนปีกส่วนในสีดำ ส่วนนอกสีขาว ปีกไชมีแซมขาว
– หาง ขนหางพัดสีดำ หางกะลวยคู่กลางซึ่งเป็นหางเอกสีขาวปลอดชัดเจน
– ขนหู ขนปิดหู มีสีเดียวกับสร้อย คือ สีเหลือง แซมด้วยสีดำ และสีขาว
– ปาก ทั้งปากบนและปากล่าง มีสีขาวอมเหลือง
– ตา นัยน์ตาดำ รอบนัยน์ตาสีขาวอมเหลือง หรือขาวซีด ลักษณะ ตาปลาหมอตาย
– แข้ง หน้าแข้งและท้องแข้งสีขาวอมเหลือง เช่นเดียวกับ ตา และปาก โบราณว่า ปากได้ขา ตาได้แข้ง
– เดือย สีขาวอมเหลือง คล้ายงาช้าง
– เล็บ สีขาวอมเหลือง เช่นเดียวกับสีตา ปากแข้ง และเดือย
ไก่เหลืองหางขาว เพศเมีย หรือ แม่พันธุ์
– ขนพื้น ที่หน้าคอ อก ท้อง ปีก และก้น สีดำตลอดลำตัว
– ปีก ปีกในดำ ปีกนอกขาว ขนสร้อยคอมีขลิบเหลือง
– สร้อย ขนขลิบสร้อยสีเหลือง
– หาง ขนหางสีดำ ปลายหางขาว
– ปาก ตา แข้ง และ เล็บ มีสีขาวอมเหลือง เช่นเดียวกับเพศผู้ บางตัวมีเดือยสีเดียวกัน
ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ สืบสานไก่ชน หรือไลน์แอด @cockfight888