เข้าสู่ระบบ

โรคพยาธิในไก่

โรคพยาธิที่สำคัญในไก่

โรคพยาธิในไก่

โรคพยาธิในไก่ จะดูดเลือดและกัดกินผิวหนังและขนไก่ ทำความรำคาญทั้งกลางวันและกลางไก่ไม่มีความสุข สุขภาพไก่อ่อนแอ ซูบผอมลง โลหิตจาง

โรคพยาธิในไก่ มีดั้งนี้

พยาธิภายนอก

พยาธิภายนอกได้แก่ เหา หมัด ไร ที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังและขนไก่จะดูดเลือดและกัดกินผิวหนังและขนไก่ ทำความรำคาญทั้งกลางวันและกลางไก่ไม่มีความสุข สุขภาพไก่อ่อนแอ ซูบผอมลง โลหิตจางและความต้านทานโรคลดลง

การรักษา
โดยใช้ยากำจัดพยาธิภายนอกที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เช่น โรทิโนนมาลาไทออนใช้ละลายน้ำฉีดพ่นบริเวณเล้าไก่และกรงไก่เป็นประจำอย่าให้ถูกตัวไก่ แต่เวลาพ่นจะต้องระวังเพราะเป็นอันตราย โดยใช้มาลาไทออน 5% แต่อาจใช้ละลายน้ำอย่างอ่อน ๆ ในขนาดเพียง 0.5% จุ่มไก่ลงในน้ำยาเพื่อฆ่าหมัดหรือไรตามตัวไก่ ที่ใช้ทั่ว ๆ ไป ได้แก่ โล่ติ๊น ทุบแช่น้ำให้น้ำขาวออกแล้วผสมน้ำลงไปพอประมาณ จับไก่ลงจุ่ม หรือจะใช้ยาผงสำเร็จรูปโรยตามตัวไก่โดยตรงก็ได้ หรืออาจใช้ยาสูบอย่างฉุนแช่น้ำในปี๊บให้เข้มข้นแล้วจับตัวไก่จุ่มลงไปหรือจะตำยาสูบอย่างฉุนให้ป่นแล้วนำไปโรยตามรังไข่และบริเวณเล้าไก่ก็ได้
หรืออีกวิธีหนึ่ง ให้ทำที่เกลือกฝุ่น โดยนำกล่องสี่เหลี่ยมลึกประมาณ 1 คืบ ใช้ยาสูบอย่างฉุนต่ำให้ป่นเป็นแป้งผสมกับปูนขาว (หรือขี้เถ้า) และดินใส่ไว้ในลัง ราดน้ำให้ชุ่มนิดหน่อยเพราะไก่ชอบเกลือกวิธีนี้จะช่วยลดเหาะและไรไก่ลงได้ ทั้งประหยัดและได้ผลดี

พยาธิไส้เดือนของไก่

พยาธิไส้เดือนของไก่พบในไก่พื้นเมืองบ่อย ๆ พยาธิชนิดนี้จะทำอันตรายไก่ระหว่างอายุ 1-3 เดือนได้มาก ถ้าป้องกันมิให้ไก่เป็นพยาธินี้จนอายุ เกิน 3 เดือนไปแล้ว อันตรายและความเสียหายจะมีน้อยลง
ไข่พยาธิจะปนออกมากับอุจจาระ เมื่อความร้อนและความชุ่มชื้นพอเหมาะ ไข่พยาธิจะเจริญเป็นระยะติดต่อซึ่งจะมีตัวอ่อนอยู่ภายใน ไก่จะติดพยาธิโดยกินไข่ระยะติดต่อเข้าไป
ไก่อายุ 1-3 เดือน เมื่อเป็นโรคพยาธิชนิดนี้จะมีอาการซูบผอม เบื่ออาหาร ขนหยอง ปีกตก เติบโตช้า ท้องเสีย ถ้ามีพยาธิมาก ลูกไก่อาจตายภายใน 10 วัน ในไก่ใหญ่ จำนวนไข่ลดลงจนสังเกตเห็นได้ชัด

การป้องกันและกำจัดพยาธิ

  1. ทำความสะอาดคอก กวาดอุจจาระบ่อย ๆ แล้วนำไปทิ้งให้ไกลจากที่เลี้ยงไก่ หรือเอาไปใส่ถังไม้ 2 ชั้น ซึ่งระหว่างกลางใส่ขี้เลื่อยไว้และมีฝาปิด และทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ ไข่พยาธิจะถูกทำลายเอาอุจจาระไปใช้เป็นปุ๋ยได้
  2. อย่าให้คอกชื้นแฉะ และพยาธิให้คอกถูกแสงแดดเสมอ
  3. การเลี้ยงลูกไก่บนตะแกรงลวดตาข่ายจะป้องกันพยาธิได้ดี
  4. การรักษาพยาธิไส้เดือน ใช้ยาพวกปิปเปอราซีนชนิดแคปซูล ขนาด 200 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวไก่ 1 กก. หรือใช้ผสมลงในอาหารให้ไก่กินในขนาด 0.5 เปอร์เซ็นต์ เมื่อไก่อายุได้ 2-3 เดือน ไม่ควรให้อาหารมากเกินไป ควรผสมให้ไก่กินอาหารได้หมดในวันเดียว หรืออาจจะให้ไก่อดอาหารก่อนให้ยาก็ได้ เพื่อทำให้ไก่อยากกินอาหารมากขึ้น ในวันที่ให้ยาถ่ายพยาธิ ต่อไปให้ซ้ำเป็นระยะ ๆ ทุก 3-4 เดือน จะช่วยให้ไก่แข็งแรงสมบูรณ์ หรือถ้าไม่สะดวกในการหาซื้อจะใช้ของที่มีอยู่ในพื้นบ้านก็ได้ โดยใช้หมากแข็งที่ใช้กินนำมาแช่น้ำให้อ่อนตัวแล้วตำให้แหลก ปั้นให้เป็นเม็ดขนาดเมล็ดข้าวโพดให้ไก่กินตัวละ 1 เม็ด

พยาธินัยน์ตาไก่

พยาธินัยน์ตาไก่มักพบได้เสมอในไก่ที่เลี้ยงปล่อยให้หากินตามที่รกหรือในเล้าที่มีแมลงสาบอาศัยอยู่ จะพบว่านัยน์ตาไก่จะมีพยาธิตัวเล็ก ๆ สีขาว ยาวประมาณครึ่งเซนติเมตร อยู่ในมุมตาด้านหัวตาของไก่

สาเหตุ
แมลงสาบเป็นพาหะชั่วคราวที่พยาธิจะไปเจริญเติบโตจากไข่เป็นตัวอ่อนอยู่ภายในแมลงสาบ เมื่อไก่กินแมลงสาบเข้าไป ก็จะติดโรคพยาธินี้ ตัวอ่อนพยาธิจะเคลื่อนตัวจากปากของไก่เข้าไปทางช่องจมูกแล้วเข้าไปในท่อน้ำตาไปสู่ที่หัวตา

อาการ
ไก่จะกะพริบตาบ่อย ๆ น้ำตาไหล ถูตากับหัวปีก พยาธิจะรบกวนตาไก่ทำให้ตาอักเสบเป็นหนอง ตาบวมปิดและจะพบพยาธินัยน์ตาไก่ซ่อนอยู่ที่มุมตาด้านหัวตาของไก่

การป้องกันและรักษา
ต้องกำจัดแมลงสาบให้หมดไปจากบริเวณเล้าไก่ รักษาความสะอาดของเล้าไก่ และที่เก็บอาหาร อย่าให้รกรุงรังเป็นที่อาศัยของแมลงสาบได้

การรักษาโดยใช้ไม้พันสำลี เขี่ยเอาก้อนหนองที่นัยน์ตาออกแล้วใช้น้ำเกลือหรือน้ำมะเกลือนั้น หรืออาจใช้ยาฉุนแช่น้ำจนได้น้ำสีชาอ่อน ๆ หยอดนัยน์ตาไก่ แล้วเขี่ยเอาพยาธิออก หยอดตาด้วยยาหยอดตาที่มียาปฏิชีวนะ เช่น คลอแรมเฟนนิคอล เพื่อลดการอักเสบของตา วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ประมาณ 2-3 วัน จนกว่าจะหายเป็นปกติ

ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ สืบสานไก่ชน หรือไลน์แอด @cockfight888

@cockfight888
LINE : @cockfight888