เข้าสู่ระบบ

เลี้ยงไก่ชน ได้ง่ายๆ ด้วยเคล็ดลับฉบับมืออาชีพ

เลี้ยงไก่ชน ถือเป็นศาสตร์และศิลปะที่มีประวัติยาวนานในวงการเกษตรกรรมทั่วโลก ไม่ว่าจะใช้ในการผลิตไก่ชน หรือลูกไก่ชนที่มีคุณภาพสูง การเลี้ยงไก่ชนต้องพึงระวังถึงปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม, การบริหารจัดการที่ดี และการดูแลสุขภาพของไก่อย่างใกล้ชิด หรือแม้กระทั่งโรคติดต่อ การเลี้ยงไก่ชนเริ่มต้นด้วยการเตรียมสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยจะคำนึงถึงปัจจัยเช่น อากาศ, แสง, และอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของไก่ชน การให้อาหารที่มีโปรตีน, วิตามิน, แร่ธาตุ, และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่สำคัญจะช่วยให้ไก่มีสุขภาพที่ดี

นอกจากนี้การจัดการที่ดี เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และการ เลี้ยงไก่ชนขาย ที่มีคุณภาพพร้อมลงแข่ง การจัดการนี้รวมถึงการควบคุมโรคภัยทางสัตว์, การตรวจสุขภาพของไก่อย่างสม่ำเสมอ, และการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาด การบริหารจัดการเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ฟาร์มไก่ชนประสบความสำเร็จ การวางแผนการเลี้ยง, การจัดการทรัพยากร, และการติดตามข้อมูลการผลิต มีบทบาทสำคัญในการสร้างระบบที่ยั่งยืน และประสบความสำเร็จในวงการเลี้ยงไก่ชน ดังนั้นหากใครที่สนใจ หรือต้องการเพาะเลี้ยงไก่ชน เพื่อประกอบอาชีพที่ยั่งยืน การศึกษาขั้นตอนการเลี้ยง รวมถึงการเลือกอาหารให้เหมาะสม ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก

ซึ่งสิ่งสำคัญในการเลี้ยงไก่ชนที่ควรรู้ คือการศึกษาโรคระบาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงยังต้องศึกษาวิธีการรักษาไก่ชน หากเกิดในกรณีที่ไก่ชนได้รับบาดเจ็บในระหว่างการแข่งขัน เพราะฉะนั้นผู้ที่ทำกิจการในการเพาะเลี้ยงไก่ชน จำเป็นต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับวิธีรักษา, ยารักษา เนื่องจากอาการบาดเจ็บของไก่แต่ละส่วน จะมีวิธีรักษาและยารักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลี้ยงไก่ชน จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องมีความรู้ และการดูแลที่ละเอียด ซึ่งการดูแลและบริหารจัดการไก่ชนอย่างถูกต้อง จะช่วยให้ได้ผลผลิตที่ดีและสร้างฐานรากทางธุรกิจที่แข็งแรง ผู้เลี้ยงไก่ชนควรมีความรับผิดชอบที่สูง และต้องให้ความทุ่มเทในการพัฒนาวิธีการเลี้ยงที่ยั่งยืน

เลี้ยงไก่ชน ให่เก่ง ได้ไก่คุณภาพ มีวิธีการเลี้ยงอย่างไร ข้อมูลนี้มีประโยชน์แน่นอน

วิธีการเลี้ยงไก่ชนสำหรับมือใหม่

วิธีการเลี้ยงไก่ชนเพื่อออกชนหรือออกตี ถือว่ามีขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นหากใครที่เป็นมือใหม่ในวงการนี้ จึงควรศึกษา วิธีการเลี้ยงไก่ชนออกตี ให้ถ่องแท้ โดยเริ่มจากการเลือกสายพันธุ์ไก่ชน เพราะในปัจจุบัน ไก่ชน มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย เนื่องจากไก่ชนแต่ละสายพันธุ์ จะมีลักษณะฝีแข้งและการตีที่ไม่เหมือนกัน มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไก่ชนสายพันธุ์พม่า จะมีลักษณะการตีที่ไว ตีถี่ ฝีเท้าหนัก ส่วนไก่ชนไทย จะมีลักษณะที่อึด ทนทานต่อโรค แต่ก็มีจุดด้อยเนื่องจากตีได้ครั้งเดียว เนื่องจากหากโดนตีหนักจะไม่สู้ ส่วนด้านไก่ชนเวียดนาม (ไซ่ง่อน) จะมีลักษณะเด่นคือ อึด กระดูกใหญ่ หนังเหนียว แต่มีจุดด้อยคือเชื่องช้า เพราะฉะนั้นจึงนำมาผสมกับไก่ชนสายพันธุ์อื่น

เพราะฉะนั้นการ เลี้ยงไก่ชน ที่ดีและมีคุณภาพ อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ อาทิเช่น ควรมีพื้นที่ในการเลี้ยงเพื่อให้ไก่ชนได้มีพื้นที่ในการเดิน อีกทั้งควรทำขอนไม้เพื่อให้ไก่ได้มีพื้นที่ในการเกาะ ส่วนเล้าไก่ชนควรมีสภาพแวดล้อมที่ถ่ายเทได้สะดวก มีแสงแดดอ่อนๆ ให้ส่องถึง ส่วนภาชนะสำหรับใส่อาหารไก่ ก็ควรดูแลให้สะอาดและต้องหมั่นทำความสะอาดทุกวัน พร้อมทั้งน้ำที่ใช้สำหรับการเลี้ยงไก่ชน ควรเป็นน้ำสะอาดและอย่าปล่อยให้ไก่ชนขาดน้ำเป็นอันขาด พร้อมทั้งการนำไก่มาออกกำลังกาย ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน และเราสามารถแบ่งการออกกำลังกายได้ตามสายพันธุ์ย่อยๆ ดังนี้

    1. ไก่ชนไทยแท้ หรือ ไก่ชนลูกผสม จะมีลีลาเป็นไก่เชิง หรือไก่บุก เน้นโจมตีและใช้แรงในการตีคู่ต่อสู้ ดังนั้นการออกกำลังกายของไก่ชนประเภทนี้ ต้องเน้นไปที่การปล้ำนวม โดยการใส่สวมแข้งไก่ ฝึกให้ไก่ปล้ำกัน โดยจะเน้นไปที่การใช้แรง
    2. ไก่ชนสายพันธุ์พม่า มีลีลาชั้นเชิงการชนที่ฉลาด ตีเจ็บ ตีไว แต่จะไม่บุกคู่ต่อสู้ เน้นจิกหัวโดยใช้เดือยที่เท้า ดังนั้นการออกกำลังกายของไก่ชนสายพันธุ์พม่า จึงควรกางมุ้งกั้น และต้องพันเดือยให้ดี

เคล็ดลับการฝึกไก่ชนสำหรับมือใหม่ที่พึ่งหัด เลี้ยงไก่ชน

วิธีฝึกไก่ชน มีเคล็ดลับที่แตกต่างออกไปแต่ละฟาร์มไก่ แต่การฝึกขั้นพื้นฐานที่ทุกฟาร์มมีก็คือ ควรฝึกไก่ชนตอนอายุราวๆ ประมาณ 7-9 เดือน เนื่องจากฝึกง่าย และควรทำการฝึกฝนไก่อย่างสม่ำเสมอ และควรซ้อมอย่างพอเหมาะ ไม่ควรฝึกมากหรือน้อยเกินไป หรือในบางกรณีหากฝึกแล้วไก่ไม่เก่งก็ไม่ควรละเลย ควรให้ไก่ชนฝึกตีสม่ำเสมอ หรือหากฝึกตีประมาณ 5 ครั้ง และยังไม่ได้รับการพัฒนา ผู้เลี้ยงก็ควรพิจารณาไก่ชน ดังนั้นเราจึงขออธิบายเกร็ดความรู้ สำหรับวิธีฝึกไก่ชนออกแบ่งหัวข้อย่อยๆ ได้ดังนี้

  1. การฝึกไก่ควรฝึกตามชั้นเชิง เนื่องจากไก่ชนจะมีลีลาการตีที่แตกต่างกัน เนื่องจากไก่ชนบางตัวตีดี ฝีแข้งไว แต่ตีไม่เจ็บ แต่บางตัวมีชั้นเชิงไม่มาก แต่ตีเจ็บ อึด ดังนั้นการฝึกไก่ ผู้เลี้ยงควรฝึกให้ไก่ชนคุ้นชินกับฝีแข้งตัวเอง
  2. ไม่ควรนำไก่ชนที่มีชั้นเชิงคล้ายกันมาเป็นคู่ฝึกซ้อม เนื่องจากหากไก่ชนที่นำมาเป็นคู่ซ้อมมีลีลาการตีที่ดีอยู่แล้ว และไก่ชนที่นำมาฝึกมีชั้นเชิงที่ด้อยกว่า จะทำให้ไก่ชนที่นำมาฝึกถอย และอาจไม่ยอมสู้ จึงเป็นที่มาของคำว่า “เสียไก่” ไปเลยก็ได้
  3. การฝึกไก่หนุ่ม หากผู้เลี้ยงเห็นแล้วว่ามีชั้นเชิงการตีที่ดีอยู่แล้ว ไม่ควรฝึกปล้ำบ่อย ควรซ้อมเบาๆ เพื่อฝึกฝีแข้งก็พอ เนื่องจากการฝึกซ้อมอย่างพอเหมาะ จะช่วยให้ไก่ชนมีสุขภาพที่ดี และจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เลี้ยงเอง แต่การซ้อมไก่ชนที่มากเกินไป จะทำให้ไก่ชนของคุณทรุดโทรม เมื่อไก่ชนทรุดโทรมเกินไป เวลานำไปซ้อมครั้งต่อไปมันจะไม่สู้ทันที
  4. การฝึกบริหารในส่วนของการฝึกลำคอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เนื่องจากใช้เพื่อหลบหลีกคู่ต่อสู้ หรือใช้เพื่อจู่โจมไปยังเป้าหมาย โดยที่ผู้เลี้ยงควรนั่งลง เอามือซ้ายโอบรอบตัวไก่ จับข้อลำคอของไก่ ซึ่งนวดที่ลำคอตั้งแต่โคนคอขึ้นไปจนถึงหัว การนวดจะต้องนวดด้วยความเบามือ และต้องนวดขึ้นลงครั้งละประมาณ 20-30 หน นอกจากนี้ควรฝึกการบริหารปีก การวิ่งทางตรง ฝึกล่อเป้า วิ่งวงล้อ บริการขา เป็นต้น

อาหารที่ใช้ในการ เลี้ยงไก่ชน มีอะไรบ้าง

โดยปกติแล้วการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน อาจปล่อยให้กินอาหารตามธรรมชาติ แต่การ เลี้ยงไก่ชน นั้นมีอาหารที่แตกต่างกันออกไป เพราะต้องได้รับการดูแลอย่างดี โดยที่อาหารของไก่ชนพื้นฐานคือ ข้าวเปลือก แตงกวา กล้วย ข้าวโพด ไส้เดือน  อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ชนมีความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโต และผลิตผลผลิตของไก่ นี่คือสารอาหารหลักที่มีในอาหารของไก่ชนและความสำคัญของแต่ละสารซึ่งสารอาหารหลักๆ มีดังนี้

  1. โปรตีน (Protein): เป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาของกล้ามเนื้อ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างไข่
  2. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate): เป็นแหล่งพลังงานทั่วไปของไก่ ช่วยในการดึงดูดน้ำและสารอาหารอื่น ๆ ในร่างกาย
  3. วิตามินและแร่ธาตุ: เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนสุขภาพทั่วไปและการเจริญเติบโตของไก่ สารเหล่านี้รวมถึงวิตามิน A, D, E, และ K, แร่ธาตุเช่น เหล็ก, แมงกานีส, และโซเดียม
  4. น้ำ: เป็นสารสำคัญที่สุด มีบทบาทในกระบวนการรักษาอุณหภูมิร่างกาย และช่วยในการย่อยอาหาร
  5. อาหารเสริม (Supplements): บางครั้งอาจจะต้องให้อาหารเสริมเพื่อครอบคลุมสารอาหารที่ไม่เพียงพอในอาหารหลัก เช่น วิตามินหรือแร่ธาตุเฉพาะ ดังนั้น การให้อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและสมดุล เป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างสุขภาพที่ดี และผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสูงในไก่ชน การคำนึงถึงความต้องการทางสารอาหารของไก่ในแต่ละวัย จะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงแผนการให้อาหารในทางที่เหมาะสม

ยารักษาไก่ชน สำหรับรักษาอาการป่วย หรือ อาการบาดเจ็บ

  • ต้นตำรับยาสมุนไพร สำหรับแก้อาการโรคกระเพาะในไก่ชน ส่วนผสม ดีปรี 4 ส่วน, ชะพลู 2 ส่วน, สะค้าน 1 ส่วน, เหง้าขิงแห้ง 4 ส่วน, กานพลู 8 ส่วน เอาตัวยาสมุนไพรทั้งหมดมาบด ผสมกับน้ำผึ้งไทยแท้ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปั้นเป็นเม็ดลูกกลอนให้เท่าๆ กัน ผึ่งให้แห้งและเก็บใส่ภาชนะให้มิดชิด ซึ่งเวลาให้ไก่ชนกิน ควรให้กินก่อนอาหารเช้าและเย็นครั้งละ 1 เม็ด
  • ต้นตำรับยาสมุนไพร สำหรับแก้อาการหวัดที่พบในไก่ชน ส่วนผสม ยาฉุน, ดอกมะลิแห้ง ผิวมะกรูดตากที่ผ่านการตากแห้ง อย่างละ 1ส่วน ส่วนพิมเสน, การบูร เพียงเล็กน้อยพอ นำมาคลุกให้เข้ากัน นำมาบดให้ละเอียด ซึ่งวิธีการใช้คือ นำสำลีชุบตัวยาและนำไปให้ไก่ชนสูดดม ซึ่งตัวยาชนิดนี้ ใช้รักษาอาการไข้หวัดของไก่ได้ดีมาก นอกจากนี้คนก็สามารถใช้ได้อีกด้วย
  • สมุนไพรสำหรับโรคผิวหนัง เห็บหมัด ไร รากหนอนตายอยาก แผลติดเชื้อ มีหนอง มีหนอน ตำให้แหลก พอก หรือคั้นน้ำใช้ทาแผล, ตะเคียน ต้มเคี่ยวใช้ทาแผลใช้แช่สำหรับเท้าเปื่อย
  • สมุนไพร รักษาบาดแผลในไก่ชน ส่วนผสมคือ ขมิ้น 1 กิโลกรัม ปูนกินหมาก 1 ขีด ซึ่งขั้นตอนการทำยาคือ ให้นำขมิ้นมาถูกับอิฐให้ได้เนื้อขมิ้นที่ละเอียด แล้วนำไปขมิ้นที่บดละเอียดไปผสมกับปูนแดง จากนั้นให้นำยาสมุนไพรที่ผสมแล้ว นำไปทาบาดแผลให้ไก่ชนได้เลย แต่แนะนำว่าตัวยานี้ควรทำวันต่อวัน ไม่ควรเก็บไว้นานๆ

ช่องทางติดตาม

website : Kaichon888.co

แฟนเพจ Facebook : ข่าวสารไก่ชน

ช่อง YouTube : ข่าวสารไก่ชน

ช่อง tiktok : c.ockfight888

Twitter : ไก่ชนเงินล้าน

Line Official : @cockfight888

@cockfight888
LINE : @cockfight888