ประวัติของไก่ชนพันธุ์พื้นเมือง ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้เป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในแถวทวีปเอเชีย
โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติจะเหลือต่ำ 10 % ซึ่ง จำนวนนี้จะขยายพันธ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติ จนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้
จึงเป็นมรดกวัฒนธรรมจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุก วันนี้ และเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลายเป็นทรัพย์สินภูมิปัญญา ของชาวบ้านโดยแท้ ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอด มา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้นเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้
ดังนั้นไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์ และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เช่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ไก่ถูกจัดอยู่ในสัตว์ปีกจำพวกนก แต่เดิมนั้นเป็นไก่ป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gallus gallus มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว ไก่พื้นเมืองของไทยมีการเลี้ยงกระจายอยู่ทั่วไปตามหมู่บ้านของเกษตรกร ซึ่งจำแนกตามลักษณะ ภายนอกและสีขน แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม
ไก่พื้นเมืองในชนบทหมู่บ้านต่างๆ มีหลากหลายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้ว ไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชน สังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนสีดำ หน้าดำและแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีพันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งก็เป็นลักษณะหงอนของไก่ชนอยู่ดี เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนจะมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตได้ดีและแม่พันธุ์ก็ไข่ดก
เนื่องมาจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับร้อยปีมาแล้ว เกษตรกรเพื่อนบ้านจะขอซื้อ ขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์แบบเป็นคนรู้จักมันคุ้นกันและกัน ก็ทำให้สายพันธุ์ศาสตร์ พบว่าไก่พื้นเมืองในหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติ
การเจริญเติบโตในระยะอายุ 4 เดือนแรก เฉลี่ยใกล้เคียงกันมาก คือ เติบโตวันละประมาณ 9-10 กรัมเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าไก่พื้นเมืองเหล่านี้เป็นสายพันธุ์ไก่ชนจาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่งแต่เน้นในด้ายการเจริญเติบโต และไข่ดกเพื่อให้สามารถขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลายถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น
ช่องทางติดตาม
เว็บไซต์ : Kaichon888.co
แฟนเพจเฟสบุ๊ค : ข่าวสารไก่ชน
ช่องยูทูป : ข่าวสารไก่ชน
ช่อง tiktok : c.ockfight888
Twitter : ไก่ชนเงินล้าน
Line Official : @cockfight888