เข้าสู่ระบบ

การอนุรักษ์วัฒนธรรมกับความเชื่อการเลี้ยงไก่ชน

การอนุรักษ์วัฒนธรรมกับความเชื่อการเลี้ยงไก่ชน

การอนุรักษ์วัฒนธรรมกับความเชื่อการเลี้ยงไก่ชน

การอนุรักษ์วัฒนธรรมกับความเชื่อการเลี้ยงไก่ชน ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการชนไก่ กับความเชื่อการเลี้ยงไก่ชน ชาวบ้านนั้นได้ใช้ภูมิปัญญามากมาย 

เป็นความเชื่อเกี่ยวกับนำไก่ออกจากบ้าน ก่อนนำไก่ออกจากบ้านเพื่อ จะนำไปชนที่สนามกีฬาชนไก่ ทุกครั้งต้องบอกเจ้าที่เจ้าทางที่บ้านเจ้าของไก่เสียก่อน เพื่อจะเอาฤกษ์เอาชัยเอาโชคเอาลาภ จะบนบานศาลกล่าวอะไร ก็แล้วแต่เจ้าของไก่จะบอก จะให้เจ้าที่ เจ้าบ้านอะไรนี่ ก็เป็นเคล็ดลับอันหนึ่ง ที่คนโบราณนับถือกันมาตลอด จนถึงปัจจุบันนี้พออุ้มไก่ออกจากสุ่ม แล้วก็หงายสุ่มไว้ ห้ามไม่ให้ใครไป เล่นสุ่มที่หงายไว้เป็น อันขาดคนโบราณถือมาก หงายไว้

เพื่อเอาเคล็ดจะได้หาคู่ ได้ง่ายบ้างจะได้ไม่ต้อง เอากลับมาเลี้ยงต่ออีกบ้าง เพื่อจะได้ชัยชนะกลับมาบ้าง การนำไก่ออกชนทุกครั้งโบราณว่าไว้ ถ้าหันหน้าออกจากบ้าน แล้วให้เดินหน้าต่อไป ห้ามกลับหลัง เด็ดขาดของใช้ต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ต้องตรวจตรา ให้เรียบร้อยก่อนออก เดินทางทุกครั้ง นี่ก็เป็นการถือเคล็ด อย่างหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งสอดคล้อง กับแนวคิดของ จารุวรรณ ธรรมวัตร 2538 ได้ให้ความหมายภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

ไว้ว่าหมายถึงทรัพยากร ความรู้ทรัพยากรบุคคล ที่มีอยู่ในท้องถิ่น แต่ละแห่งซึ่งอาจเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตน หรือลักษณะสากล ที่หลายๆท้องถิ่นมีคล้ายกัน ก็ได้ภูมิปัญญาท้องถิ่นใน แต่ละท้องถิ่น เกิดจากการที่ชาวบ้าน แสวงหาความรู้เพื่อ เอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคมที่จำเป็น ในการดำรงชีวิตภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และวิถีชีวิตชาวบ้านเช่น การประกอบประเพณีพิธีกรรมของชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ ผู้กระทำสบายใจให้

คุณค่าทางจิตใจ และความรู้สึกหรือประเพณี การรวมกำลังช่วยกันทำงานที่ใหญ่เกินกว่า จะกระทำได้สำเร็จคนเดียวเช่น การลงแขกสร้างบ้านสร้างถนนหรือขุดลอกแหล่งน้ำเป็นกิจกรรมที่แสดงถึงความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกันภายในชุมชนทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยทั่วไปภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนเป็นประโยชน์แก่คนทุกระดับมีลักษณะเด่นคือสร้างสำนึกเป็นหมู่คณะทั้งในระดับครอบครัวและเครือญาติพื้นเพจากฐานความรู้ของชาวบ้าน

หรือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ด้วยตนเองหรือเรียนรู้จากบรรพบุรุษหรือความรู้ที่สั่งสมสืบต่อกันมาทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมอันเป็นสติปัญญาเป็นความรู้ที่ชาวบ้านคิดได้เองโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ผู้วิจัยมองประเด็นนี้ เป็นเรื่องของความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเช่นกัน ซึ่งเมื่อผู้เลี้ยงไก่ปฏิบัติตามความเชื่อนี้แล้วเกิดความสบายใจก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เขาจะยึดถือคำสอนซึ่งเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่มีไว้ให้ต่อลูกหลาน ตราบใดที่ผู้เลี้ยงได้ปฏิบัติตามความเชื่อแล้วผู้เลี้ยงเกิดความสบายใจ เกิดความมั่นใจ ก็ยังคงเป็นภูมิปัญญาให้กับลูกหลานอีกแขนงหนึ่งต่อไปการศึกษาวิถีชีวิตคนเลี้ยงไก่ชนและการถ่ายทอดภูมิปัญญา

การเลี้ยงไก่ชนโดยใช้เวลาว่างจากการทำนาถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลาน การก่อเกิดภูมิปัญญาการเลี้ยง ไก่ชนซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตของชาวอีสานที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปพร้อม จนเกิดทักษะและความชำนาญเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีการเชื่อมโยง กันไปหมดทำให้ชาวบ้านสนใจที่จะประกอบเลี้ยงไก่ชนเพื่อเป็นอาชีพเสริม ทำให้ชาวบ้าน ดงแสนสุข ไม่อพยพไปขายแรงงานในต่างจังหวัด อีกทั้งยังเป็นสิ่งทำให้ชาวบ้านดงแสนสุข

เกิดความภาคภูมิใจพฤติกรรมการเรียนรู้ในการเลี้ยงไก่ชน เกิดจากการชอบและอยากที่จะรู้ วิธีการในการเลี้ยงไก่ชนตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเพื่อเพาะพันธุ์ขาย มีรายได้เข้ามา ในครอบครัวจนสามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเรียนรู้ภูมิปัญญาจากรุ่นต่อรุ่น

โดยมีตาทวดและลูกหลานที่สืบทอดเป็นต้นแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการเลี้ยงไก่ และวิถีชีวิตของคนและไก่ชนมีความผูกพันกันโดยเลี้ยงไก่เสมือนเป็นสัตว์เลี้ยงทั่วไป การศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยเป็นการซึมซับจากการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงเรียนรู้ใช้เวลา ในการเรียนรู้ฝึกฝนประสบการณ์พอสมควรจึงสามารถแยกตัวมาประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ ไก่ขายและเลี้ยงไก่ชนด้วยตัวเองการถ่ายทอดภูมิปัญญาของชาวบ้านดงแสนสุข

ช่องทางติดตาม

เว็บไซต์ : Kaichon888.co

แฟนเพจเฟสบุ๊ค : ข่าวสารไก่ชน

ช่อง tiktok : c.ockfight888

Twitter : ไก่ชนเงินล้าน

Line Official : @cockfight888

@cockfight888
LINE : @cockfight888