เข้าสู่ระบบ

การป้องกันโรคในฟาร์มไก่ชน

การป้องกันโรค ในฟาร์มไก่ชน

การป้องกันโรคในฟาร์มไก่ชน

การป้องกันโรคในฟาร์มไก่ชน ลูกไก่ในฟาร์มไก่ชนควรหยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลให้ไก่ลูกไก่ ที่แข็งแรงตัวละหนึ่งหยด โดยหยอดเข้าทางจมูก

การป้องกันโรคในฟาร์มไก่ชน เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้แก่ลูกไก่ในฟาร์มไก่ชนควรหยอดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลให้แก่ลูกไก่ ที่แข็งแรงตัวละหนึ่งหยด โดยหยอดเข้าทางจมูก แต่ถ้าลูกไก่ที่ยังไม่แข็งแรง ไม่ควรหยอดวัคซีนดังกล่าวเพราะลูกไก่อาจตายได้ ระยะนี้ยังไม่ควรปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคฝีดาษให้กับลูกไก่เพราะลูกไก่ยังไม่มีภูมิต้านทานพอควรระวังไม่ให้ยุงกัดลูกไก่เพราะยุงเป็นพาหนะนำเชื้อฝีดาษมาให้กับลูกไก่ การเลี้ยงลูกไก่ระยะสัปกาห์แรกนี้จะต้องหมั่นดูและบ่อยๆ ระวังอย่าให้ขาดอาหารและน้ำการให้อาหารควรให้ทีละน้อย แต่ให้บ่อยเพื่อให้อาหารมรรสและกลิ่นชวนกินอยู่เสมอ ถ้าพบว่าอาหารมีกลิ่นไม่ดีควรนำภาชนะที่ใส่อาหารไปทำความสะอาดแล้วใส่อาหารใหม่แทน ควรสังเกตลูกไก่อยู่อย่างสบายหรือไม่ถ้าอุณภูมิภายในเครื่องกกพอเหมาะ ลูกไก่จะนอนอย่างสบายแต่ถ้าอากาศภายในเครื่องกกร้อนหรือหนาวเกินไปลูกไก่จะแสดงอาการให้เห็น การจัดอุณหภูมิภายในเครื่องกกถ้าใช่้เทอร์โมมิเตอร์ประกอบกับความชำนาญ สังเกตความเป็นอยู่ของลูกไก่จะทำให้ผู้เลี้ยงจัดอุณหภูมิได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ควรหมั่นดูแลความสะอาดรังกกและเครื่องกกอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้สกปรก เนื่องจากว่าถ้าหากฟาร์มไก่ชนนั้นสกปรกไม่สะอาดเป็นไปตามมาตรฐานของการเลี้ยงไก่ ลูกไก่ที่อยู่ในฟาร์มก็จากมีสิทธิ์ได้รับเชื้อโรคต่างๆอาจจะทำให้ลูกไก่ตายได้ในที่สุดและยิ่งเป็นในสัตว์ปีกด้วยแล้วเชื้อโรคสามารถแพร่พันธุ์ไปได้อย่างรวด ทำให้ฟาร์มไก่ชนนั้นสามารถที่จะถูกปิดไปโดยปริยายเนื่องจากคำประกาศของกระทรวงสาธารณสุข

ข้อปฏิบัติ 10 ข้อในการควบคุม-ป้องกันโรคระบาดไก่
    1. หยอดหรือฉีดวัคซีน หรือแทงปีก เป็นประจำตามโปรแกรมการให้วัคซีน
    2. คอก เล้า หรือโรงเรือนเลี้ยงไก่ ตั้งอยู่บริเวณที่ดี มีลักษณะและขนาดเหมาะสมกับจำนวนไก่ สามารถป้องกันสัตว์พาหะนำโรค เช่น นกกระจอก นกพิราบ อีกา สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ หนู สุนัข แมว และสัตว์ชนิดอื่นๆ
    3. ให้น้ำสะอาด โดยเปลี่ยนน้ำให้ไก่กินอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทำความสะอาดรางน้ำ รางอาหาร และภาชนะใส่อาหารเสมอๆ
    4. ทำความสะอาดคอก เล้า หรือโรงเรือนเป็นประจำ รวมทั้งบริเวณล้อมรอบ อย่าให้มีแอ่งน้ำสกปรก ต้องมีน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับจุ่มเท้าก่อนเข้า
    5. ป้องกันเชื้อโรคจากภายนอก เช่น ไม่นำไก่จากแหล่งที่เป็นโรค หรือสงสัยว่าเป็นโรค หรือไม่ทราบแหล่ง เข้ามาในฟาร์มและรวมในฝูงทันที
    6. ถ้าจะนำไก่จากแหล่งภายนอกมาเลี้ยง ต้องขังไก่แยกกักกันโรคไว้อย่างน้อย 15 วัน เพื่อดูอาการให้แน่ใจก่อนว่าไก่ไม่เป็นโรคแน่นอนจึงนำเข้ามาเลี้ยงรวมฝูงได้
    7. ไก่ป่วยต้องแยกออกจากฝูงแล้วทำการรักษาโรคทันที ถ้ารักษาไม่ได้ผลต้องคัดออกทิ้งและทำลาย เพื่อป้องกันการแพร่โรคในฝูง
    8. เมื่อเกิดโรคระบาดต้องทำลายไก่ป่วยและซากไก่ตายด้วยการฝังลึกไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร โรยด้วยปูนขาว แล้วกลบดินทับปากหลุม หรือเผา นำวัสดุรองพื้นออกมาเผา ทำความสะอาดรางน้ำ รางอาหาร ภาชนะใส่อาหาร อุปกรณ์ต่างๆ พ่นภายใน ภายนอก และบริเวณรอบๆ คอก เล้า หรือโรงเรือนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และพักการเลี้ยงไก่ไว้ระยะหนึ่ง อย่าทิ้งซากไก่ลงในแม่น้ำลำคลอง อย่าให้น้ำที่ใช้ทำความสะอาดไหลลงแม่น้ำลำคลอง จะทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น และแจ้งเจ้าหน้าที่ราชการโดยเร็วที่สุด
    9. ให้ยาบำรุง วิตามิน และแร่ธาตุ ละลายน้ำให้ไก่กินในสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน หรือช่วงเปลี่ยนฤดูกาล ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้ไก่เครียด และติดโรคได้ง่ายที่สุด ควรให้กินติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน
    10. ปรึกษาสัตวแพทย์ในท้องที่เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้อง

ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่ สืบสานไก่ชน หรือไลน์แอด @cockfight888 

@cockfight888
LINE : @cockfight888