การก่อเกิดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ชน เกิดจากวิถีชีวิตของชาวอีสานที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปพร้อมจนเกิดทักษะและความชำนาญ
การก่อเกิดภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ชนซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตของชาวอีสาน ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไปพร้อมจนเกิดทักษะ และความชำนาญเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีการเชื่อมโยงกันไปหมดทำให้ชาวบ้านสนใจที่จะประกอบเลี้ยงไก่ชน เพื่อเป็นอาชีพเสริม ทำให้ชาวบ้าน ไม่อพยพไปขายแรงงานในต่างจังหวัด
อีกทั้งยังเป็นสิ่งทำให้ชาวบ้าน เกิดความภาคภูมิใจพฤติกรรมการเรียนรู้ในการเลี้ยงไก่ชน เกิดจากการชอบและอยากที่จะรู้วิธีการในการเลี้ยงไก่ชนตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เพื่อเพาะพันธุ์ขาย มีรายได้เข้ามาในครอบครัวจนสามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเรียนรู้ภูมิปัญญาจากรุ่นต่อรุ่น
ข้อมูลจากตำราทั้งเก่าและใหม่ รวมกับข้อมูลที่ได้จากการซักถามพูดคุยกับคนเฒ่าคนแก่และคนที่ชอบเลี้ยง ไก่ชน ทำให้สรุปได้ว่า ไก่ชนกับไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้านก็คือไก่ประเภทเดียวกัน จนอาจพูดเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า “ไก่ชนก็คือไก่บ้านดีๆ นี่เอง หรือไก่ชนกับไก่บ้านก็คือไก่อันเดียวกันนั่นแล” เพียงแต่ว่าไก่ที่จะนำไปชนกันนั้นเป็นไก่ที่เก่ง
ผ่านการคัดเลือก ผ่านการฝึกฝนหรือเก็บเนื้อเก็บตัวมาแล้ว ไก่ที่นำไปชนจึงเก่งผิดจากไก่บ้านตัวอื่น ๆ และจากไก่ตัวเมียตัวผู้ที่เก่ง ๆ นี่เองชาวบ้านมักจะเลี้ยงไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ลูกหลานไก่ที่เกิดมาก็มักจะเก่งเหมือนพ่อแม่ไก่ ชาวบ้านก็เลยเรียกไก่พื้นบ้านเหล่านี้ว่า “พันธุ์ไก่ชน” ด้วยเหตุนี้แหละ จึงทำให้พวกเราซึ่งเกิดทีหลังรู้สึกสับสนระหว่างคำว่า “ไก่พื้นบ้านกับไก่ชน”
จากการค้นคว้าพบว่า ไก่พื้นบ้านหรือไก่ชนพัฒนาสายพันธุ์มาจากไก่ป่า (ไก่ป่าทั่วไป,ไก่ป่าตุ้มหูขาว, ไก่ป่าตุ้มหูแดง, ไก่ป่าตุ้มหูเหลืองและอาจจะมีอีกหลายชนิด) โดยธรรมชาติแล้ว ไก่ป่าจะมีนิสัยหวงถิ่นหรือพื้นที่อันเป็นเขตแดนของตน โดยเฉพาะไก่ป่าตุ้มหูแดงนั้นหลายตำราบอกว่าจะหวงถิ่นมากเป็นพิเศษ มักจะขับไล่ไก่ตัวอื่นที่ลุกล้ำอาณาเขตเสมอ ต่อมาเมื่อคนยุคโบราณเห็นถึงข้อดีความเก่งความเป็นนักต่อสู้เลยจับไก่ป่ามาเลี้ยงและในยามว่างงานก็นำไก่มาตีกัน
ซึ่งต่อมาเรียกว่า“การชนไก่” ไก่ตัวไหนดีตัวไหนเก่งชาวบ้านก็เก็บไว้ทำพ่อแม่พันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์มาเรื่อยๆ จนลูกหลานไก่ป่าคุ้นเคยกับผู้คน จากไก่ป่ากลายเป็นไก่บ้านหรือไก่พื้นบ้าน เหล่ากอหรือเผ่าพันธุ์ไหนเก่งก็เรียกว่า “พันธุ์ไก่ชน”การชนไก่ถือว่าเป็นการละเล่นขณะพักผ่อนยามว่างงาน เป็นเกมกีฬาอย่างหนึ่งของบรรพบุรุษสืบมาจนถึงทุกวันนี้
ซึ่งวิถีชีวิตของผู้เลี้ยงไก่ชน คือ ทุกวัน เวลาประมาณ 7 โมงเช้า จะเปิดซุ่มไก่ ให้ไก่ตากแดดแสงแดดอ่อน ๆ ให้ไก่ออกกำลังกาย ให้อาหารไก่ เป็นข้าวเปลือก ยาบำรุง จากนั้นก็อาบน้ำให้ไก่ทุกตัว ทุกวัน หนึ่งตัวใช้เวลาประมาณ 10 นาที สมุนไพรที่นำมาเป็นน้ำสำหรับอาบให้ไก่ผสมน้ำต้มตั้งไฟให้มีอุณหภูมิไม่สูงมากพออุ่น ๆ ใช้ผ้าชุบสมุนไพรและลูบไปตามลำตัวของไก่พอให้ขนหมาด ๆ จากนั้น เข้าไว้ในสุ่ม เติมน้ำใส่หม้อต้มสมุนไพรไปเรื่อย ๆ จากนั้นนำไก่ตามแดด และทำแบบนี้อีกครั้งในช่วงบ่าย 3 – 4 โมงและนำไก่ตากแดดอ่อน ซึ่งแดดร่มลมตกแล้ว แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูฝนจะอาบน้ำให้ไก่เพียงครั้งเดียวเช็ดพอหมาด ๆ
จะเห็นได้ว่าวิถีชีวิตของคนที่เลี้ยงไก่ชน จะใช้ชีวิตจากที่ตื่นนอน ไปจนถึงเวลาพลบค่ำ เลิกจากงาน โดยส่วนมากจะใช้เวลาในการดูแลไก่ ด้วยใจที่มีความรักความผูกพันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้ซึมซับมาเป็นช่วงเวลาที่เนิ่นนานส่วนใหญ่ผู้เลี้ยงไก่จะมีอาชีพรับจ้างทั่วไป จะไม่มีงานประจำหรือเป็นมนุษย์เงินเดือน เนื่องจากต้องมีเวลาให้กับไก่ชนของตัวเอง เสมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้เลี้ยงไก่ชน และเป็นวิถีชีวิตของผู้เลี้ยงไก่ชนสืบต่อไป
ช่องทางติดตาม
เว็บไซต์ : Kaichon888.co
แฟนเพจเฟสบุ๊ค : ข่าวสารไก่ชน
ช่องยูทูป : ข่าวสารไก่ชน
ช่อง tiktok : c.ockfight888
Twitter : ไก่ชนเงินล้าน
Line Official : @cockfight888